Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

Stem Cell คืออะไร



หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำว่า สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดมาบ้าง แต่ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว Stem Cell คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับร่างกายของมนุษย์

Stem Cell คือ เซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นเซลล์พิเศษที่มีความสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่เซลล์ชนิดอื่น ๆ ที่ต่างออกไปในร่างกาย รวมถึงสามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่จำกัด จึงช่วยทดแทนเซลล์เก่าในกรณีที่เซลล์เก่าเสื่อมสภาพหรือบาดเจ็บ ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูตัวเองและเจริญเติบโตต่อไปได้

Stem Cell สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ โดยแต่ละประเภทจะมีต้นกำเนิดและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ได้แก่
1. เซลล์ต้นกำเนิดที่แยกได้จากตัวอ่อน (Embryonic Stem Cell) เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้ได้มาจากตัวอ่อนที่พัฒนามาจากไข่ หลังได้รับการปฏิสนธิประมาณ 5 วัน ขณะที่ทางการแพทย์จะได้รับมาจากการปฏิสนธิในหลอดทดลองหรือนอกร่างกาย โดยส่วนใหญ่เป็นเซลล์ที่เหลือจากการทำกิฟต์ สามารถนำไปสร้างและพัฒนาไปเป็นเซลล์ของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกายได้ เช่น สมอง ผิวหนัง
2. เซลล์ต้นกำเนิดที่แยกได้จากสิ่งมีชีวิตโตเต็มวัย (Adult Stem Cell) เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดอื่น ๆ ในร่างกายได้ จึงมีบทบาทหลักในการการซ่อมแซมเนื้อเยื่อในอวัยวะนั้น ๆ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดจากผิวหนังก็จะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ผิวหนัง

Stem Cell ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรค
สำหรับการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาโรคทางการแพทย์ได้อนุญาตให้นำมาใช้รักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเลือดเท่านั้น ส่วนโรคอื่น ๆ ยังไม่มีผลการวิจัยที่แน่นอน โดยโรคที่นิยมนำสเต็มเซลล์มารักษาในปัจจุบัน ได้แก่
 โรคลูคีเมีย
 โรคทาลัสซีเมีย
 โรคจากภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด
 มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต้านม มะเร็งไต เป็นต้น
 ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
 โรคเอสแอลอี
 โรคไขกระดูกฝ่อที่เกิดภายหลัง
 ฯลฯ

ข้อดีและข้อเสียของ Stem Cell
แม้ว่าจะเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถฟื้นฟูร่างกายและซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอได้ดี แต่การนำสเต็มเซลล์มาใช้ประโยชน์ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นกัน ดังนี้
ข้อดี
1. การรักษาโรคด้วยสเต็มเซลล์จะให้ผลลัพธ์ในระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่รักษาจนหายขาดแล้วจะไม่กลับมาเป็นโรคเดิมได้อีก
2. สเต็มเซลล์สามารถแปลงตัวเองและเข้าไปแทนที่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม โดยไม่ต้องใช้สารกระตุ้นใด ๆ ทั้งสิ้น
3. สเต็มเซลล์ที่ได้รับการพัฒนาแล้วจะสามารถนำมาใช้เพื่อชะลอความแก่ได้
4. ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการมีบุตร
ข้อเสีย
1. มีราคาค่อนข้างแพง การจะรักษาด้วยสเต็มเซลล์จึงต้องมีงบประมาณสูงมาก
2. ต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญด้านการรักษาด้วยสเต็มเซลล์โดยเฉพาะ เพราะมีความเสี่ยงต่อการผิดพลาดสูงมาก

ปัจจุบันนี้ การนำสเต็มเซลล์มาใช้ประโยชน์ยังมีไม่มากนัก เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยค้นคว้า ซึ่งคาดว่าในอนาคตคงจะสามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคอื่น ๆ ได้มากขึ้น

ขอบคุณที่มา: www.trueplookpanya.com และ www.ipscell.com