Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

6 เทรนด์ขับเคลื่อนอนาคตด้านอาหารและบรรจุภัณฑ์ ในปี 2030



โลกของเรามีความเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน และเปลี่ยนในอัตราที่รวดเร็ว คนทำธุรกิจต้องก้าวตาม เพื่อให้ทันต่อโอกาส และชิงความได้เปรียบในการเป็นผู้นำในตลาด

ในปี 2030 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 8.4 พันล้านคน และ 60% อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่เริ่มเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และเป็นกลุ่ม Gen C หรือ ผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ จะกลายมาเป็นกำลังซื้อหลัก

นอกจากนี้ ในอนาคตความเข้มงวดในเรื่องของการรีไซเคิลจะมีเพิ่มมากขึ้น การจัดการน้ำ และกฎระเบียบทางอาหารโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้านโภชนาการ จะมีการเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องของไขมัน น้ำตาล หรือแม้กระทั่งเกลือ และมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม มาดู 6 เทรนด์ขับเคลื่อนอนาคตด้านอาหารและบรรจุภัณฑ์ ในปี 2030 กัน



1. เศรษฐกิจชีวภาพ (Microbial Bioeconomy)
ในปี 2030 การใช้ทรัพยากรจะเริ่มมีข้อจำกัดเพิ่มมากขึ้น การประหยัด หรือใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่จึงเป็นเรื่องจำเป็น อาทิ การดัดแปลงพันธุกรรมของอาหาร การใช้จุลินทรีย์ และเทคโนโลยีชีวภาพเชิงอุตสาหกรรมในการดัดแปลงรสชาติ รวมไปถึงรสสัมผัสของอาหารโดยไม่ใช้สารสังเคราะห์ ซึ่งในอนาคตกระบวนการผลิตและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์อาจเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับพัฒนาการนี้

2. อาหารดิจิทัล (Digital Food)
ปัญหาใหญ่ในยุคนี้ คือ ขยะประเภทเศษอาหารที่มีจำนวนมากขึ้นจนเป็นปัจจัยหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก ระบบอาหารดิจิทัลจึงเกิดขึ้น มีส่วนช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การกะปริมาณและดัดแปลงวัตถุดิบอาหาร การลดปริมาณของเสีย และระยะทางในการขนส่ง รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการที่พอดีของผู้บริโภคในแต่ละมื้อ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น

3. สายการผลิตที่ไร้คน (Distributed Value Exchange)
ในโลกอนาคต มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า อาหารและบรรจุภัณฑ์จะถูกควบคุมการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ มีการใช้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้น และเกิดเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบครบวงจร โดยไม่ต้องใช้คนในสายการผลิต

4. การจัดการโลกที่ยั่งยืน (Planetary Resilience)
อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางเกษตรกรรมและน้ำ ซึ่งส่งผลให้หลายประเทศจะเข้าสู่ภาวะแห้งแล้ง ภายในปี 2030 อาจมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไปในชั้นบรรยากาศมากถึง 54,000 - 56,000 ล้านตัน ดังนั้น โครงสร้างของธุรกิจควรมีการปรับตัวเพื่อสร้างการผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่มากยิ่งขึ้น

5. โภชนาการระดับสูง (High-resolution Nutrition)
ประชากรผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น ในปี 2030 โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเบาหวาน อัตราการเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรงมีเพิ่มมากขึ้น ผู้คนจึงเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากขึ้น ผลักดันให้เจ้าของธุรกิจต้องปรับตัวและคิดค้นสูตรอาหารและเครื่องดื่มที่ใส่ใจต่อสุขภาพและตรงต่อความต้องการเฉพาะตัวของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

6. ซื้อใจด้วยผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น (Personal Economies)
การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ จะทำให้เกิดเทรนด์เรื่องของวัตถุดิบในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่มาจากท้องถิ่นสูงมากขึ้น เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกถึงความใกล้ชิดและความไว้ใจในระบบการจัดการด้านอาหารจากที่ ๆ ตนรู้จัก ชอบที่จะเลือกแบรนด์สินค้าจากคนในกลุ่มเดียวกันนั่นเองครับ เพราะฉะนั้น จะเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของการจัดจำหน่ายหรือกระจายสินค้าที่จะมาจากพื้นที่ห่างไกลหรือผ่านเครือข่ายที่เป็นของชุมชนมากขึ้น

ในอนาคต ผู้บริโภคจะคำนึงถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักถึงความปลอดภัยและสุขภาพ ควบคู่กับรสชาติอาหารที่อร่อย จะต้องเปิดใจ และเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง


ขอบคุณที่มา: TETRA PACK >> www.tetrapak.com/th/about/cases-articles/food-package-2030