Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

Circular Economy เทรนด์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน



แนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เกิดขึ้นราว ๆ ทศวรรษ 1970 ซึ่งในช่วงนั้นหลายประเทศเริ่มตระหนักแล้วว่า ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของตนเอง รวมถึงทรัพยากรที่ต้องนำเข้ามานั้นมีจำกัด เห็นได้ชัดจากราคาวัตถุดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับกำไรสุทธิที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy)





เมื่อภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศเหล่านี้ลองนำแนวคิดเรื่อง Circular Economy มาใช้ พวกเขาก็พบว่า นอกจากจะทำให้ทรัพยากรของพวกเขาถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนแล้ว โมเดลดังกล่าวยังสร้างความรับผิดชอบต่อโลก แถมยังก่อเกิดผลกำไรที่เติบโตขึ้นในระยะยาวอีกด้วย

Circular Economy ประกอบด้วย 8 หลักการที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทาง ได้แก่

Durability (ทนทาน ใช้งานได้นานขึ้น) การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยการเพิ่มความคงทน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดใช้ทรัพยากร หรือลดของเสียจากซากเหลือทิ้ง

Renewability (นำวัสดุที่สร้างทดแทนใหม่ได้มาใช้ในการผลิต) การผลิตหรือการออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ โดยการนำวัสดุที่ประกอบด้วยชีวมวลที่มาจากสิ่งมีชีวิต หรือที่สามารถสร้างทดแทนได้อย่างต่อเนื่องมาใช้ในการผลิต

Reuse (ใช้ซ้ำได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งาน) การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์

Repair (บำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ตลอดอายุการใช้งาน) คุณลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสามารถทำการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ เมื่อเกิดความเสียหายเพื่อยืดอายุการใช้งาน

Replacement (เปลี่ยนหรือทดแทนการใช้วัสดุแบบเดิม) การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อเปลี่ยนหรือทดแทนการใช้วัสดุแบบเดิม ที่อาจใช้ได้ครั้งเดียวหรือมีสารอันตราย หรือเป็นวัตถุดิบที่อยู่ในภาวะวิกฤตด้วยการใช้วัสดุทางเลือก หรือการใช้วัสดุทางเลือก หรือการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต

Upgrade (เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน) การเพิ่มประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์บางชิ้นของผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน โดยไม่ต้องซื้อหรือผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่

Refurbishment (การปรับปรุงเป็นของใหม่) การซ่อมแซมหรือปรับปรุงสินค้าที่ได้รับความเสียหายหรือเกิดตำหนิ โดยส่งคืนกลับไปยังผู้ผลิต พร้อมรับการตรวจสอบตามมาตรฐานของโรงงานอีกครั้งหนึ่ง แล้วกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้ง โดยบ่งบอกข้อความกำกับไว้เพื่อแจ้งให้ผู้ซื้อทราบ

Reduced Material Use (ลดปริมาณวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ) การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดปริมาณวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต การจัดจำหน่าย การกระจายสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องบริการ

นอกจากนี้ยังลดปัญหาการขาดแคลนสินค้า อย่างที่บอกว่านี่คือการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด เมื่อโลกเผชิญกับปัญหาทรัพยากรหมด การหมุนเวียนในระบบให้สามารถใช้ทรัพยากรให้ได้คุ้มประสิทธิภาพของมันที่สุดจึงเป็นเรื่องจำเป็น หากเราช่วยกัน “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” เพียงเท่านี้ ก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยขับเคลื่อนให้บ้านเรา เข้าสู่การเป็นประเทศ Circular Economy ที่ยั่งยืน


ขอบคุณที่มา EXPRESS PLASPACK (THAILAND) CO., LTD. - https://www.expressplaspack.com/th/นี่คือทางรอด-circular-economy-วิถีชีวิ/