Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

มาทำความรู้จัก… ตู้ปลอดเชื้อ (BSC) กัน



งานค้นคว้า วิจัย ในห้องแล็บเกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บ่อยครั้งสามารถสร้างอันตรายได้ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารเคมี เพื่อให้ทำงานกับเชื้อโรคหรือสารเคมีได้ปลอดภัย ตู้ปลอดเชื้อ (BSC) จึงถือกำเนิด และถูกพัฒนากลายเป็นอุปกรณ์ในห้องแล็บที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล คลินิก รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ยาและอิเล็กทรอนิกส์





ก่อนอื่น… ตู้ปลอดเชื้อคืออะไร ?
ตู้ปลอดเชื้อ Biological Safety Cabinet (BSC) หรือบางครั้งเรียกว่า ‘ตู้ไบโอฮาชาร์ด’ คือ อุปกรณ์ในห้องแล็บที่ถูกออกแบบเพื่อใช้งานกับสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย รวมถึงสารเคมีบางอย่าง โดยอาศัยการกรองของ HEPA Filter ให้ได้อากาศที่สะอาดในพื้นที่ทำงาน โดยทั่วไปตู้ปลอดเชื้อประเภทนี้มีความสามารถในการป้องกันขณะใช้งาน ดังนี้
1. ป้องกันผู้ปฏิบัติงาน (Personnel Protection)
2. ป้องกันงานหรือผลิตภัณฑ์จากการปนเปื้อน (Product Protection)
3. ป้องกันสภาพแวดล้อมภายนอกจากงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายในพื้นทำงาน (Environment Protection)

ตู้ปลอดเชื้อมีกี่ประเภท ?
ตู้ปลอดเชื้อ Biological Safety Cabinet (BSC) สามารถแบ่ง 3 ประเภท ตามขอบข่ายการใช้งานและความสามารถในการป้องกัน ดังนี้

BSC Class l
1. อากาศภายนอกถูกดูดผ่านพื้นที่ทำงานภายในเครื่องและกรองด้วย HEPA Filter ที่อยู่ด้านบน แล้วจึงปล่อยออกภายนอก
2. ผู้ใช้ได้รับการป้องกัน เนื่องจากอากาศถูกดูดเข้าเครื่อง ทำให้สิ่งอันตรายไม่สามารถวิ่งสวนทางออกมาทำอันตรายได้
3. การทำงานเหมือนตู้ดูดควัน แต่แตกต่างกับตู้ปลอดเชื้อมีการกรองด้วย HEPA Filter (โดยปกติจะไม่มีการติด HEPA Filter ในตู้ดูดควัน)
4. เหมาะสำหรับงาน Biosafety Level 1, 2 และ 3

BSC Class ll
1. อากาศภายนอกถูกดูดผ่านรูตระแกรงด้านหน้า โดยไม่ผ่านพื้นที่ทำงานเข้าไปด้านหลังและถูกกรองด้วย HEPA Filter เป็นอากาศสะอาด เป่าสู่พื้นที่ทำงาน ทำให้งานที่กำลังทำถูกป้องกันจากสิ่งที่ถูกปนเปื้อนภายนอก
2. ทิศทางอากาศเป็นแนวดิ่ง วิ่งผ่านจากบนลงล่าง
3. อากาศผ่านพื้นที่ทำงาน แยกเป็น 2 ส่วน ไปที่รูตะแกรงด้านหน้าและหลัง ไม่มีส่วนใดเล็ดลอดออกมาทำอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
4. เหมาะสำหรับงาน Biosafety Level 1, 2 และ 3

BSC Class lll
1. เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อที่เป็นอันตรายมากที่สุด โดยมีถุงมือป้องกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผลิตภัณฑ์โดยตรง
2. แรงดันภายในพื้นที่ทำงานจะอยู่ในสภาพ Negative Pressure เพื่อปกป้องการแพร่กระจายของงานออกมาภายนอก
3. มีการใช้ HEPA Filter สองแผ่น ต่อแบบอนุกรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการกรองและป้องกันอันตรายอาจเล็ดลอดสู่ภายนอก
4. เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องในระดับ Biosafety Level 1, 2, 3 โดยเฉพาะระดับ 4

Biosafety Level คืออะไร ?
Biosafety Level 1 - 4
เป็นระดับความปลอดภัยที่ CDC (Centers for Disease Control and Prevention) และ NIH (National Institutes of Health) ของประเทศอเมริกา กำหนดให้ใช้กับงานในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ

Biosafety Level 1
ว่าด้วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต (Microorganisms) ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานใด ๆ ทั้งสิ้น

Biosafety Level 2
ว่าด้วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต (Microorganisms) ที่สามารถก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ เช่น ไวรัส Hepatitis B, HIV หรือ Salmonella เป็นต้น

Biosafety Level 3
ว่าด้วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต (Microorganisms) ที่สามารถก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และถ่ายทอดต่อกันทางระบบหายใจ รวมทั้งทำให้เสียชีวิตได้ เช่น Mycobacterium Tuberculosis, St. Louis Encephalitis Virus และ Coxiella Burnetti เป็นต้น

Biosafety Level 4
ถือเป็นงานในห้องปฏิบัติการที่อันตรายและต้องการความระมัดระวังมากที่สุด เนื่องจากเชื้อโรคเหล่านี้สามารถทำให้เสียชีวิตได้ รวมทั้งก่อให้เกิดการระบาดผ่านทางอากาศได้


ขอบคุณที่มา www.playsotec.com