Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

Mercury Analyzer: ความสำคัญของการวัดค่าปรอทในโรงงานอุตสาหกรรม



ปรอท (Mercury) เป็นโลหะหนักที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์ในชีวิตประจำวันมากกว่าเราคิด รู้หรือไม่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปรอทกับมนุษย์นั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน สีแดงที่เราพบเห็นในโบราณวัตถุที่ขุดพบส่วนใหญ่ประกอบด้วยปรอทซัลไฟด์ (ซินนาบาร์) ซึ่งถูกค้นพบในหลุมศพโบราณในอียิปต์ หรือในหลักฐานโบราณของราชวงศ์หยินในประเทศจีน ปรอทเป็นที่นิยมถูกใช้เป็นส่วนผสมในยาอายุวัฒนะโดยจักรพรรดิจีนที่สืบทอดกันมายาวนาน (รวมถึงจอมจักรพรรดิอย่างจิ๋นซีฮ่องเต้) ในประเทศญี่ปุ่น ปรอทเป็นโลหะที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในอดีต ไม่เพียงเป็นส่วนผสมของยาเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นสีย้อมล้ำค่าในสมัยอะสึกะด้วย





ปัจจุบันอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ของเราก็ยังเกี่ยวข้องกับการใช้สารปรอทอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอัลคาไล คลอไรด์ การผลิตแบตเตอรี่ การใช้อะมัลกัมในทันตกรรม (Dental Amalgam) อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ปรอททั้งโลกมากกว่า 60% ถูกใช้ในอุตสาหกรรม (รวมถึงการทำเหมืองทองคำในสเกลขนาดเล็กด้วย)

สารประกอบปรอทแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ
1. รูปโลหะปรอท (Metallic Mercury) เป็นรูปปรอทที่บริสุทธิ์ สามารถระเหยได้ โดยอัตราการระเหยเพิ่มตามสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้น

2. รูปสารประกอบปรอทอนินทรีย์ (Inorganic Mercury Compound) หรือเกลือของปรอท (Mercury Salt) สารประกอบประเภทนี้สามารถพบได้ในธรรมชาติ รูปแบบที่ปรอทจับตัวกับ Chlorine, Sulfur หรือ Oxygen เช่น H2S, HgO, HgCl2, Hg2Br2 เป็นต้น

3. ปรอทที่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ (Organic Mercury Compound) เกิดจากการรวมตัวของปรอทกับธาตุคาร์บอนและธาตุอื่นๆ เช่น Methylmercury และ Ethylmercury เป็นต้น

รู้หรือไม่
ปรอทเข้าสู่ร่างกายได้หลากหลายช่องทาง เช่นไอระเหยของปรอท เข้าสู่ร่างกายด้วยการหายใจ หรือผ่านการสัมผัสสามารถซึมผ่านเข้าทางผิวหนัง รวมถึงการนำปรอทรูปของอมัลกัมมาอุดฟัน เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาการได้รับปรอทผ่านทางอาหาร นับว่ามีความอัตรายสูง เนื่องจากปรอทในห่วงโซ่อาหาร จะอยู่ในรูป CH3Hg เป็นสารที่มีความเป็นพิษมากที่สุดในบรรดาสารประกอบปรอท

ดังนั้นสารปรอทที่สะสม โดยเฉพาะจากปลาทะเลชนิดกินเนื้อที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารระดับสูง เช่น ปลาฉลาม ปลาดาบ ปลาแมคาดอร์เรล และปลาทูน่า เป็นต้น เคยมีรายงานพบปริมาณปรอทในเนื้อปลาฉลาม สูงถึง 4.540 ppm ซึ่งถือว่าสูงมาก จึงมีคำแนะนำว่า ไม่ควรกินปลาทูน่ากระป๋องเกินกว่าสัปดาห์ละ 170 กรัม สารประกอบปรอทในเนื้อปลาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูง คือ Methylmercury ซึ่งมีอยู่ในเนื้อสัตว์น้ำ โดยเฉพาะเนื้อปลาซึ่งแม้ทำให้สุกแล้วก็ไม่สามารถกำจัดออกไปให้หมดได้

การสัมผัสกับพิษของสารปรอทยังคงเป็นอันตรายในการประกอบอาชีพสำหรับผู้คนในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งปรอทสามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราในพื้นที่ทำงาน เช่น กระบวนการผลิต ทั้งการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การขุดทอง การทำอะมัลกัมทางทันตกรรม การผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์

ดังนั้น การตรวจสอบและวัดระดับปรอทจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นสูงสุด เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีความปลอดภัย เมื่อสงสัยว่าเกิดภาวะพิษจากสารปรอท การตรวจห้องปฏิบัติการที่จะช่วยยืนยันการวินิจฉัย คือ การตรวจวัดระดับปรอทในเลือดและในปัสสาวะที่เก็บปริมาตรทั้งหมดใน 24 ชั่วโมง แม้ว่าระดับปรอทในเลือดจะไม่ได้บอกถึงปริมาณปรอททั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย (Body Burden) เหมือนระดับปรอทในปัสสาวะ เนื่องจากปรอทกระจายอยู่ตามเนื้อเยื่อ แต่มีประโยชน์กรณีที่เป็นการได้รับอย่างเฉียบพลัน ค่าปกติของระดับปรอทในเลือดน้อยกว่า 20 mg/L ส่วนในปัสสาวะเท่ากับ 10 mg/L โดยที่ในปัสสาวะมีปรอทระดับ 100-200 mg/L และในเลือดมากกว่า 500 mg/L จะสัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อระบบประสาทและทางเดินปัสสาวะ

มินามาตะ
พิษจากสารปรอท เหตุการณ์ที่โด่งดังเป็นข่าวไปทั่วโลกจากพิษของปรอท คือ โรคมินามิตะ ที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1956 เมื่อน้ำเสียที่ปล่อยออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไหลลงสู่อ่าวมินามิตะ มีการปนเปื้อนสารปรอทที่ชื่อว่า เมทิลเมอร์คิวรี่ (Methylmercury) ส่งผลให้คนที่บริโภคปลาที่มีการปนเปื้อนสารปรอท ต้องเสียชีวิตมากว่า 100 คน และต้องทนทุกข์ทรมานจากพิษของสารปรอทอีกหลายพันคน โดยจากการเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบพบว่ามีค่าความเข้มข้นของสารปรอทสูงกว่า 600 ppm

อาการเบื้องต้น คือ ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้ ชาตามแขนขา แขนขาบิดเบี้ยวคล้ายคนพิการ และนอกจากนี้สารปรอทสามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตรได้ ทำให้เด็กที่เกิดมามีอาการพิการทางสมองได้อีกด้วย เหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ที่แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาประเทศไม่ควรมุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ควรพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

ในปี ค.ศ. 2000 ทั่วโลกมีปริมาณการปล่อยไอปรอทสู่บรรยากาศประมาณ 2200 ตัน โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการทางอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารเคมี ผลิตโลหะ และบำบัดกากของเสียมีผลต่อการเพิ่มระดับความเข้มข้นของสารปรอทในบรรยากาศมากกว่าอุตสาหกรรมการเผาไหม้ถ่านหิน และที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น คือ มีการศึกษาพบว่า ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่เป็นแหล่งปล่อยสารปรอทออกสู่บรรยากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่รวดเร็ว โดยเฉพาะสารปรอทจากอุตสาหกรรมการเผาไหม้ถ่านหิน การถลุงเหล็ก การทำเหมืองทองคำและของเสียในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกทางไฟฟ้า (Cr: http://dpm.nida.ac.th/)

ความเสี่ยงจากการได้รับสารปรอทจากสายอาชีพ
อาชีพที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับสารปรอท ได้แก่ ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือชิ้นส่วนยานยนต์ โรงงานแปรรูปเคมี การแปรรูปโลหะ วัสดุก่อสร้าง (เช่น สวิทช์ไฟฟ้า และเครื่องวัดอุณหภูมิ) และวิชาชีพทางการแพทย์ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์และบุคลากรทางทันตกรรม บุคลากรที่เกี่ยวกับการบริการด้านสุขภาพอื่น ๆ บุคลากรทางทันตกรรมที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอะมัลกัมจะสัมผัสกับไอปรอทเป็นประจำซึ่งสะสมอยู่ในร่างกายในระดับที่สูงกว่าอาชีพอื่น ๆ โดยได้รับสารปรอทจากอะมัลกัมในขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งการจัดเก็บ จัดเตรียม การตกแต่ง และการขัดผิว การรื้อวัสดุอุดฟันเก่า และการทำความสะอาดพื้นที่ทำงานและเครื่องมือ มีการศึกษาค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของปรอทจากเครื่องวัดการหายใจส่วนบุคคลของทันตแพทย์พบว่ามีค่าเฉลี่ย 29.2 µg/ m³ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานการได้รับสารในการทำงานที่กำหนดไว้ที่ 25 µg/m³ ในทำนองเดียวกันกับระดับปรอทในปัสสาวะของทันตแพทย์ พบว่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3-4 เท่า โดยในทันตแพทย์วัดได้ 3.1 nmol Hg/nmol creatinine ส่วนกลุ่มควบคุมวัดได้ 0.99 nmol Hg/nmol creatinine

การป้องกัน
แนวทางป้องกันอันตรายจากสารปรอทที่สำคัญ คือ
- ตรวจสอบปริมาณความเข้มข้นของไอปรอทในบริเวณที่ทำงานอยู่เสมอ อย่าให้เกินค่ามาตรฐาน
- ติดตั้งเครื่องดูดไอปรอทที่กระจายบริเวณที่ทำงานออกสู่ภายนอกเพื่อไปทำการกักเก็บไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย และทำให้บริเวณพื้นที่ใช้งานมีอากาศที่บริสุทธิ์

ระดับของไอปรอทในสถานที่ทำงาน กำหนดจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
- Occupational Safety and Health Administration: OSHA เป็นหน่วยงานเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสหรัฐอเมริกา จะกำหนดค่าที่ใช้ทางกฎหมาย กำหนดค่า Permissible Exposure Limit (PEL) หรือปริมาณของสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัย ว่าไม่ควรเกิน 0.1 mg/m³ โดยทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 วัน หรือสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง
- National Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH เป็นหน่วยงานเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอีกหน่วยงานหนึ่ง แนะนำค่า Recommended Exposure Limit (REL) หรือระดับไอปรอทในที่ทำงานไม่เกิน 0.05 mg/m³ ทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง ซึ่งค่าที่กำหนดนี้บางรายงานเห็นว่าสูงไป บางประเทศจึงกำหนดให้ต่ำลง
- American Conference of Governmental Industrial Hygienists: ACGIH เป็นองค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งอเมริกา คล้าย ๆ กับกรมควบคุมมลพิษ แนะนำค่า Threshold Limit Value (TLV) กำหนดให้สูงไม่เกิน 0.025 mg/m³ ทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง

ความสำคัญของการใช้เครื่องวิเคราะห์ปริมาณปรอท – Mercury Analyzer
ในอุตสาหกรรมที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องวิเคราะห์ปริมาณปรอท หรือ Mercury Analyzer ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถวิเคราะห์หาปริมาณสารปรอทได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ การวัดค่าปรอท (Hg) ตั้งแต่ต้นทางการเกิดขึ้นของปรอทจนถึงการปนเปื้อนสู่ร่างกายมนุษย์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดภาพร่วมในการประเมินปริมาณที่มีการปลดปล่อย อาทิเช่น พลังงานใต้พื้นพิภพ ถ่านหิน น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน หรือ ก๊าซธรรมชาติ ปนเปื้อนสู่ธรรมชาติ น้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำทะเล น้ำฝน น้ำดื่ม อากาศ และสุขภาพร่างกาย เลือด ปัสสาวะและเส้นผม ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ได้ผลที่ถูกต้องและแม่นยำ ด้วยเครื่องวิเคราะห์ปริมาณปรอท หรือ Mercury Analyzer ซึ่งมีอยู่หลายรุ่นตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

WA-5A/5F Mercury Analyzer
เครื่องวิเคราะห์ปรอทในอากาศหรือก๊าซธรรมชาติ รุ่น WA-5A (Atomic Absorption Spectroscopy) หรือ WA-5F (Atomic Fluorescence Spectroscopy) ด้วยหลักการ ทำงานบน Dual-Gold-Amalgamation เหมาะสำหรับใช้วัดสารปรอทในอากาศ ก๊าซไอเสีย ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซจากชั้นหิน ก๊าซไฮโดรคาร์บอน LPG / LNG ก๊าซไฮโดรเจนและอื่น ๆ

PE-1000 Mercury Analyzer
PE-1000 เป็นเครื่องวิเคราะห์ปรอทแบบอัตโนมัติ สามารถตรวจวัดสารปรอทไฮโดรคาร์บอน กลุ่มปิโตรเลียมอาทิ Naphtha, Pygas, Gasoline, Jet fuel, Kerosene, Diesel fuel, Condensate, Crude oil, Fuel oil เป็นต้นด้วยหลักการ Atomic Fluorescent Spectrometer

RA-4500 Fully Automated Sample Digestion and CVAAS
RA-4500 เป็นเครื่องวัดสารปรอทอัตโนมัติ ตัวเครื่องสามารถทำการวิเคราะห์ตัวอย่างของเหลว โดยตั้งแต่เริ่มกระบวนการย่อยตัวอย่าง จนเสร็จสิ้นขั้นตอนการวัดปริมาณปรอททั้งหมด ด้วยหลักการ Reducing vaporization Cold vapor Atomic Absorption Spectrometer ข้อดีของรุ่นนี้ ผู้ใช้งานปลอดภัยจากสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ ช่วยประหยัดแรงงานและต้นทุนในการดำเนินงาน สะดวกต่อ การวัดค่าปรอท (Hg) ในน้ำดื่ม น้ำเสียอุตสาหกรรม น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำทะเล น้ำฝน และอื่น ๆ

RA-4300 Series: ULTRA-TRACE MERCURY ANALYSIS
RA-4300 เป็นเครื่องวัดปรอทปริมาณต่ำ ใช้หลักการ Reducing Vaporization Cold Vapor Atomic Fluorescence Spectrometer ใช้ในการวัดตัวอย่างกลุ่ม น้ำฝน น้ำทะเล น้ำดื่ม และอื่น ๆ

EMP – 3 Mercury Analyzer Portable/Handheld Mercury Meter
EMP -3 เครื่องวัดไอสารปรอทแบบพกพา สามารถแสดงผลได้ทันที หลังการวัด เหมาะกับการใช้งานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
- ทั้งการตรวจสอบความปลอดภัยและสุขอนามัยในโรงงานอุตสาหกรรม / คนงาน โดยสามารถใช้งานได้ ดังนี้
- การตรวจสอบสถานที่ทำงาน
- การวิเคราะห์น้ำในสถานที่ประกอบการ
- ตรวจสอบก๊าซเหลว (LPG / LNG) / การวิเคราะห์ก๊าซธรรมชาติ
- การตรวจสอบการปล่อยก๊าซ

MA-3000 Direct mercury Analyzer
MA-3000 เครื่องวัดสารปรอทแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องผ่านการเตรียมตัวอย่าง สามารถวิเคราะห์ได้หลากหลายทั้งของแข็งและของเหลว ด้วยเทคนิค Thermal Decomposition Atomic Absorption Spectrophotometer

อุตสาหกรรมหรือโรงงานใดต้องการคำปรึกษาด้านเครื่องมือวิเคราะห์ปรอทอย่างละเอียด เหมาะกับการใช้งาน สามารถติดต่อบริษัท โคแอกซ์ กรุป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนานให้บริการคุณ

บริษัท โคแอกซ์ กรุป คอร์ปอเรชั่น จำกัด
1131/62, 64, 325-328 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ : 0-2668-2436-9
โทรสาร : 0-2243-7386
เว็บไซต์ : www.coax.co.th


อ้างอิง:
กรมควบคุมโรค: กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, แหล่งที่มา: http://envocc.ddc.moph.go.th
เกษม พลายแก้ว. วารสาร มอก.วิชาการ. ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้จัก. แหล่งที่มา:
http://journal.hcu.ac.th/pdffile/sci81609.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง: เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท” อุตสาหกรรมจึงต้องปรับตัว