Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

ทำไมห้องแล็บต้องขึ้นทะเบียน ??



ไม่ใช่ว่าจะจบวิทยาศาสตร์มาแล้วจะเปิดห้องแล็บเองได้เลยนะ ต้องมีการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย





ห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็บ (Laboratory) คือ ห้องสำหรับการวิจัย ทดลอง การวัดทางวิทยาศาสตร์ หรือทางเทคนิค อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการทางการแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยโรค มีความถูกต้องแม่นยำ เพื่อใช้เป็นตัววินิจฉัยในการรักษาโรคต่อไป

ห้องแล็บ ต้องขึ้นตรงกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมาย อ้างอิงกฎหมาย ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชน พ.ศ. 2560

ห้องแล็บมี 2 แบบ คือ ประเภท ร. และ ประเภท ว.
1. ห้องแล็บ ร. คือ ห้องแล็บภายใน ไม่สามารถรับวิเคราะห์ตัวอย่างจากภายนอกได้ ผลวิเคราะห์ที่คุณรายงานจะไม่สามารถนำไปใช้ภายนอกและอ้างอิงตามกฎหมายไม่ได้ แต่ต้องการคุณภาพและถูกต้องตามกฎหมาย (เหมาะกับห้องแล็บเฉพาะโรงงาน)
2. ห้องแล็บ ว. คือ ห้องแล็บวิเคราะห์เอกชน สามารถทั้งวิเคราะห์ตัวอย่างภายนอกและนำรายงานไปใช้ได้ตามกฎหมาย (แต่ใช้ได้เฉพาะ Parameter ที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น)

** ห้องแล็บ แบบ ว. นั้น การ Audit ห้องแล็บจะเข้มข้นมากกว่าแบบ ร. **

สิ่งที่ต้องเตรียม Infrastructure ห้องแล็บ มีดังนี้
• เตรียมพื้นที่สำหรับการสร้างห้องแล็บ การออกแบบห้องแล็บให้เป็นไปตามมาตรฐานการสร้างห้องแล็บ มีระบบความปลอดภัย
• อุปกรณ์ เครื่องมือ สารเคมี สำหรับพารามิเตอร์ที่จะวิเคราะห์ในห้องแล็บ
• บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์และคุณสมบัติต้องตรงตามกฎหมาย
• ระบบเอกสารในห้องแล็บ : Work Instruction, WI ของแต่ละพารามิเตอร์ (ต้องตามมาตรฐานที่ห้องแล็บใช้อ้างอิงทุกอย่าง) ฟอร์มลงข้อมูล ฟอร์มรายงานผลการวิเคราะห์

ขั้นตอนของการขึ้นทะเบียนห้องแล็บวิเคราะห์เอกชนที่ขึ้นกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
• ส่งบุคลากรประจำห้องแล็บเข้าอบรมตามกฎหมายของกรมโรงงาน และต้องทดสอบสมรรถนะของบุคลากรห้องแล็บ (ความสามารถในการวิเคราะห์ในแต่ละพารามิเตอร์ที่จะขอขึ้นทะเบียน)
• สอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้ว : ทำแผนสอบเทียบ / ทวนสอบ และเลือกบริษัทสอบเทียบที่มี ISO/IEC 17025
• วิเคราะห์ตัวอย่างและเก็บข้อมูล : วิเคราะห์ตัวอย่างที่ห้องแล็บ เก็บข้อมูล ทำ MDLของทุกพารามิเตอร์ ให้ทำการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์อย่างน้อย 1 เดือน
• กรอกเอกสารแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนฯ
• ส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
• เจ้าหน้าที่จะนัดวันเวลาที่เข้ามา Audit ห้องแล็บ ซึ่งระยะเวลาการตรวจเอกสารขึ้นอยู่กับปริมาณพารามิเตอร์ที่คุณขอขึ้นทะเบียน
• รอเอกสารขึ้นทะเบียน : ระยะเวลานั้นจะถูกแจ้งในวันที่ห้องแล็บได้รับการ Audit

การขึ้นทะเบียนห้องแล็บ อาจมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่เพื่อความถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐาน อีกทั้งยังป้องกันและลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากจุลชีพก่อโรค วัตถุไวไฟ หรือสารเคมีอันตรายในห้องปฎิบัติการ



ขอบคุณที่มาโดย SSC OIL LAB , โรงพยาบาลเพชรเวท
ขอบคุณภาพโดย Edward Jenner จาก Pexels