Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

Digital Healthcare เทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์



การปรับตัวให้เดินหน้าตามเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ คมนาคม การสื่อสาร และอื่น ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นั่นคือสิ่งผลักดันสำคัญให้ผู้บริโภคและองค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ทันกับโลกยุคดิจิทัล



การระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา และโครงสร้างของสังคมไทยที่เดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นก้าวสำคัญที่ธุรกิจโรงพยาบาลในรูปแบบเดิมต้องปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ ทำให้ Digital Healthcare เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมการแพทย์ และการบริการด้านสาธารณสุขทั่วโลก โดยมีการนำเทคโนโลยีหลากหลายอย่างมาใช้ อาทิ การเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลโดยไม่ต้องเดินทางมายังโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกสบาย อย่าง ระบบแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายยิ่งขึ้น บริการตรวจประเมินสุขภาพผ่าน Medical Device รวมทั้งสามารถเปิดประวัติหรือทำนัดหมายได้ก่อนมาที่โรงพยาบาล ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหล่านี้ ส่งผลให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Digital Healthcare คือ การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ ที่จะยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่มีการนำดิจิทัลเข้ามาใช้อย่างก้าวกระโดด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยมากขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์ และในปัจจุบันพบว่า หลายโรงพยาบาลมีการ Transform นำดิจิทัลเข้ามาใช้กับระบบภายในและการให้บริการทางการแพทย์มากขึ้น

การ Transform เพื่อก้าวสู่ Digital Healthcare อย่างเต็มรูปแบบ

1. ปรับให้ตรงตามความต้องการ
ต้องปรับให้เท่าทันความต้องการของผู้บริโภคแบบ Real-Time ซึ่งนอกเหนือจากการรักษาที่ดีแล้ว ต้องสำรวจผู้บริโภคแต่ละช่วงวัยว่าต้องการบริการด้านใดเป็นพิเศษ โดยอาจอ้างอิงจากประวัติการรักษาของผู้ป่วยเพื่อนำไปปรับปรุงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบริการแบบมุ่งเน้นเรื่องประสบการณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถอำนวยความสะดวกในการรักษา หรือ การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อออกแบบวิธีรักษาได้ตรงกับสุขภาพของผู้ป่วย

2. สร้างเครือข่ายการให้บริการแบบ Digital Healthcare
ปัจจุบันการรักษามีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเข้ารับการรักษาในสถานที่ที่ตนเองสะดวกได้ การสร้างเครือข่ายการให้บริการระหว่างสถานพยาบาลต่าง ๆ จึงสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค สามารถส่งตัวผู้ป่วยให้กันได้ เพราะโรงพยาบาลแต่ละแห่งล้วนมีข้อจำกัดในการรักษา และอาจมีเครื่องมือทางการแพทย์ไม่เพียงพอ การสร้างเครือข่ายรูปแบบนี้ก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลได้อีกด้วย

3. จัดการข้อมูลด้านสุขภาพ
Digital Healthcare มีการเก็บข้อมูลของผู้ป่วย ทั้งรายชื่อ ประวัติการรักษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาครั้งถัดไป ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นความลับส่วนบุคคลที่ห้ามเผยแพร่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับระบบจัดการข้อมูล เช่น ประวัติการแพ้ยา การใช้ยา วิธีการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ

4. เพิ่มช่องทางติดต่อตลอด 24 ชั่วโมง
ช่องทางการติดต่อสื่อสารต้องมีทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์เพื่อความสะดวกในการสอบถามข้อมูล และช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

การนำเทคโนโลยี Blockchain มาปรับใช้ก็จะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

• ข้อมูลของผู้ป่วย การจัดเก็บข้อมูลที่ระเบียบและค้นหาได้ง่าย รวมถึงการนำระบบออนไลน์เข้ามาใช้ในส่วนของเวชระเบียนจะช่วยให้มีความปลอดภัย เพราะสามารถกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้ ทั้งยังต้องใส่รหัสก่อนเข้า ถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่งทำให้ไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลเหล่านี้จะรั่วไหล

• แลกเปลี่ยนข้อมูลทางสาธารณสุข เมื่อจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยไว้ในระบบ Blockchain แล้ว ยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยในอนาคตได้ โดยนักวิจัยจะต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูลก่อนถึงจะสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคเพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้มีความแม่นยำมากขึ้น

• ใช้กับระบบการเบิกจ่าย
ผู้ป่วยบางรายอาจมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการรักษา เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ซึ่งระบบนี้จะสามารถตรวจสอบสิทธิและเอกสารได้อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดในการจ่ายซ้ำซ้อน

ข้อมูลจากเว็บไซต์ ‘ธนาคารกรุงเทพ’ ระบุว่า Digital Healthcare คือ ความหวังของวงการแพทย์แห่งอนาคต มีหลากหลายธุรกิจที่มีความต้องการใช้บริการ Digital Healthcare อาทิเช่น
1. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรักษา Virtual Care และ Telehealth
2. ธุรกิจที่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการรักษา การรักษาออนไลน์ จัดเก็บข้อมูลการแพทย์ และขนส่งอุปกรณ์การแพทย์
3. ธุรกิจด้านการคิดค้นวัคซีนและยารักษาโรค

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ Telemedicine การปรึกษาแพทย์ทางไกล ถูกนำมาใช้ได้อย่างเร็วขึ้น ผู้ป่วยยินดีที่จะใช้เพราะไม่กล้าเข้ามาในโรงพยาบาล ส่วนยาและอุปกรณ์ต่าง ๆ จะถูกส่งไปให้กับผู้ป่วยถึงบ้าน

นอกจาก Telemedicine จะตอบโจทย์การแพทย์ในปัจจุบันแล้ว โดยที่แพทย์สามารถเห็นหน้าคนไข้ได้ แต่อาจไม่เห็นได้ทั้งตัว ไม่เห็นท่าทีต่าง ๆ ของผู้ป่วย ในอนาคตอาจมีการนัดผู้ป่วยผ่าน Metaverse ซึ่งสามารถช่วยให้เห็นผู้ป่วยได้ชัดเจนกว่า ผู้ป่วยที่มีความเครียดสามารถปรึกษาจิตแพทย์ได้ โดยดีไซน์ห้องใน Metaverse ให้มีลักษณะคล้ายโรงพยาบาล พูดคุย ปรึกษา และรักษา รวมถึงอาจจะมีการส่งยาไปที่บ้าน

มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทางการแพทย์อีกหลากหลายรูปแบบ เช่น กล้องจดจำใบหน้าเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิ และแจ้งเตือนผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากาก มีการนำหุ่นยนต์บริการทางการเแพทย์มาใช้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อคอยช่วยรับส่งอาหารและยา พร้อมส่งอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพผู้ป่วย หรือที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีหุ่นยนต์ เวสตี้ (Wastie) เก็บขยะติดเชื้อ โดยใช้แขนกลยกถังขยะติดเชื้อไปยังกระบะจัดเก็บ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแก่บุคลากรทางการแพทย์

Digital Healthcare จึงเป็นทางเลือกใหม่ในอนาคตที่ช่วยยกระดับ และพัฒนาองค์กรในด้านต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม เพื่อสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ที่ไม่ได้มุ่งหวังแค่การรักษาสุขภาพ แต่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและการให้บริการที่มากไปด้วยประสิทธิภาพด้วย


ขอบคุณที่มาโดย : กรุงเทพธุรกิจ , ธนาคารกรุงเทพ , TOT
ขอบคุณภาพโดย : Family talk photo created by Drazen Zigic - Freepik.com

อ่านบทความเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่