Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

ดูดอากาศ ไล่ความชื้นห้องปฏิบัติการ ด้วยปั๊มสุญญากาศ (Vacuum Pump)



อุตสาหกรรมในประเทศไทยไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ งานด้านการผลิต งานช่าง วิศวกร หรือ นักวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติงานในห้องวิทยาศาสตร์ มักจะรู้จักและคุ้นเคยกับปั๊มสุญญากาศ หรือ Vacuum Pump กันเป็นอย่างดี เพราะส่วนใหญ่ปั๊มสุญญากาศจะใช้ในกระบวนการผลิตและการทำงานทดลอง



ปั๊มสุญญากาศ หรือ Vacuum Pump เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดูดอากาศและความชื้นเพื่อให้อยู่ในระดับแรงดันสุญญากาศที่เหมาะสม สามารถนำมาใช้ในงานภาคอุตสาหกรรมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร ยา สารเคมี พลาสติก เครื่องปรับอากาศ อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

หลักการทำงานของปั๊มสุญญากาศ คือ การดูดความชื้นออกไปพร้อม ๆ กับการกดแรงดันอากาศให้บางเบาที่สุด เพื่อให้พื้นที่นั้น ๆ มีอากาศและความชื้นน้อยลง จนแห้งสะอาด เพราะการดูดความชื้นทำให้ระบบการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้น ๆ ทำงานได้รวดเร็วขึ้น


ประเภทของปั๊มสุญญากาศ (Vacuum Pump)

1. ปั๊มสุญญากาศแบบโรตารี (Rotary Vane Vacuum Pump) มีใบพัดติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องและเคลื่อนตัวไปในแนวรัศมีภายใต้แรงสปริง ด้วยหลักการทำงานแบบหมุนโรเตอร์ เมื่อโรเตอร์หมุนอากาศจะไหลเข้าสู่ห้องดูดอากาศ โดยที่โรเตอร์จะถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ เพื่อทำให้เกิดสุญญากาศ อีกทั้งยังมีระบบการกรองแยกไอน้ำมันและอากาศไหลย้อนกลับ ทำให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร เครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรการพิมพ์ เป็นต้น

2. ปั๊มสุญญากาศแบบลูกสูบ (Piston Vacuum Pump) ทำงานด้วยหลักการใช้ลูกสูบ ใช้กลไกการหมุนเวียนน้ำมันหล่อลื่นที่ติดตั้งด้วยมอเตอร์รองรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ เหมาะกับงานประเภทอุตสาหกรรมหนัก ๆ หรืองานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ เช่น โรงงานอบไม้ งานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องมือและเครื่องจักรทางอุตสาหกรรม งานตรวจสอบคุณภาพด้านจุลชีววิทยา เป็นต้น

3. ปั๊มสุญญากาศแบบวอเตอร์ริง (Water Ring Vacuum Pump) เป็นปั๊มสุญญากาศที่ใช้น้ำหล่อเลี้ยงแทนการใช้น้ำมัน มีเสียงดังขณะใช้งานไม่เกิน 50 เดซิเบล นิยมนำไปใช้กับงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไอน้ำ ความร้อน และ สารเคมี เป็นต้น

4. ปั๊มสุญญากาศแบบแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Vacuum Pump) ใช้หลักการเคลื่อนที่แบบเพลาข้อเหวี่ยง ไม่ต้องใช้น้ำมันในการหล่อลื่น แต่มีวาล์วสำหรับการปรับค่า Vacuum มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตได้ และสามารถควบคุมค่าแรงดันสูง-ต่ำ หรือลดระดับเสียงที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ดี นิยมใช้งานในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ (ห้องแล็บ) การแพทย์ วิศวกรรมเคมี เภสัชศาสตร์ เป็นต้น

5. ปั๊มสุญญากาศขนาดเล็ก (Compact Vacuum Pump) เป็นปั๊มแบบหัวเดี่ยวที่มีขนาดเล็ก ตัวเครื่องใช้พลังงานแรงดันไฟฟ้าจากมอเตอร์ DC ขนาดเล็ก ทำจากอะลูมิเนียมและพลาสติกที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้ดี ให้เสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนต่ำ ติดตั้งใช้งานง่ายได้ทุกสถานที่ แต่จะสามารถใช้งานต่อเนื่องได้เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น นิยมนำมาใช้กับเครื่องมือและ อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

6. ปั๊มสุญญากาศแบบแห้ง (Dry Vacuum Pump) เป็นปั๊มชนิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีการใช้น้ำมันหล่อลื่น ไม่มีการเผาไหม้ ไม่เกิดความร้อนขณะเครื่องทำงาน ส่งผลทำให้ได้สุญญากาศที่สะอาดบริสุทธ์ โดยตัวเครื่องออกแบบมาสำหรับการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับอัตราการไหลของก๊าซที่มีความเสถียรและไม่มีปฏิกิริยาในช่วงสุญญากาศหยาบ จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น อุตสาหกรรมเครื่องพิมพ์ เครื่องจักรแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น


คุณสมบัติเฉพาะของปั๊มสุญญากาศ
• มีขนาดกะทัดรัด ติดตั้งใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีทั้งระบบใช้น้ำ น้ำมันหล่อลื่น และน้ำหล่อเลี้ยง (Oil Free)
• มีคุณสมบัติทนทานต่อฝุ่น สารเคมี ของเหลว การสั่นสะเทือนน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• มีเสียงรบกวนต่ำ


ปั๊มสุญญากาศถือเป็นอุปกรณ์สำคัญและมีบทบาทในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ระบบหล่อเย็น การตรวจสอบคุณภาพ ไปจนถึงงานในห้องแล็บ แต่ละอุตสาหกรรมก็มีการใช้ปั๊มสุญญากาศในแบบที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การศึกษา เรียนรู้ และเลือกใช้ปั๊มสุญญากาศที่เหมาะกับอุตสาหกรรม จะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ


ขอบคุณที่มา : Bobbie George. Debut Diamonds , MECHANIKA , MISUMI

ขอบคุณภาพ : ASphotofamily on Freepik

อ่านบทความเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่