Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

ระบบภูมิคุ้มกันบำบัด เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนวงการแพทย์



ระบบภูมิคุ้มกันบำบัดนั้นได้สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถในระบบภูมิคุ้มกันโรคมะเร็ง รวมถึงยังมีโอกาสที่จะพัฒนาเพื่อรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย จุดเด่นของภูมิคุ้มกันชนิดนี้ คือ จะช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้ยาวนานมากขึ้น






โดยคาดว่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่รักษายากได้ เช่น โรคมะเร็งไฝ ที่ถือว่าเป็นความต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมากทางการแพทย์ เพราะมะเร็งไฝเป็นโรคที่มีทางเลือกในการรักษาไม่มากนัก ในขณะที่แต่ละปีกลับมีการตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งไฝมากกว่า 160,000 รายทั่วโลก และมียอดผู้เสียชีวิตรายปีสูงถึง 40,000 ราย

พัฒนาการแบบใหม่ของระบบภูมิคุ้มกันชนิดนี้ได้สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยมากมาย เพราะภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะทำหน้าที่เข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์มะเร็งในร่างกายของเรา ยังไม่รวมถึงวิธีการรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การดัดแปลงโมเลกุลรับสัญญาณให้เป็นแบบลูกผสม, การผสมผสานวิทยาการรักษาด้วยยาเก่าและใหม่ เป็นต้น

ภูมิคุ้มกันบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ตามกลไกการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ดังนี้

- โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies) เป็นโปรตีนสังเคราะห์เลียนแบบสารภูมิต้านทานที่เป็นโปรตีนของระบบคุ้มกันของร่างกาย ในการรักษามะเร็ง แอนติบอดีจะได้รับการพัฒนาให้มีความจำเพาะ และออกฤทธิ์ต่อมะเร็งชนิดนั้น ๆ

- ยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune Checkpoint Inhibitors) มีกลไกทำงานโดยยับยั้งระบบควบคุมและสั่งการให้มีการทำลายเซลล์แปลกปลอมหรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย (Immune Checkpoint) เพราะบางกรณีเซลล์มะเร็งจะอาศัยระบบนี้ในการ ‘ซ่อนตัว’ จากการถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยากลุ่มนี้จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจจับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น

- วัคซีนโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines) วัคซีนโรคมะเร็งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ โดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง หรือปกป้องร่างกายให้ปลอดจากมะเร็งได้ อาทิ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

- ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบไม่จำเพาะ (Non-specific Immunotherapies) ภูมิคุ้มกันบำบัดประเภทนี้ไม่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อมะเร็งโดยตรง แต่เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไป เพื่อให้ตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก
- https://today.line.me/th/v2/article/5+เทคโนโลยีที่จะทำให้วงการแพทย์ต้องตะลึงในปี+2020-0wEx2z
- https://www.bumrungrad.com/th/treatments/immunotherapy#:~:text=โมโนโคลนอลแอนติบอดี,ต่อมะเร็งชนิดนั้นๆ