Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

‘โควิดรีบาวด์’ ติดเชื้อซ้ำ หลังหายป่วยโควิด!!



สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาเกือบ 3 ปีแล้ว ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มเปิดประเทศให้ท่องเที่ยว และไม่มีการบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัย แต่การระบาดและการติดเชื้อยังคงมีอยู่ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงในตอนนี้ คือ อาการโควิดรีบาวน์ (Covid-19 Rebound) ที่เป็นการติดเชื้อซ้ำภายในระยะเวลาเพียง 14 วัน



โควิดรีบาวน์ (Covid-19 Rebound) คือ การติดเชื้อซ้ำหลังจากติดมาแล้วในเวลาที่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ผู้ป่วยโควิดและกักตัวครบ 10 – 14 วัน เมื่อครบกำหนดเชื้อโควิดควรจะตายหรือกลายเป็นซากเชื้อ แต่ผลการตรวจกลับยืนยันว่าผู้ป่วยรายนั้นยังคงติดเชื้อโควิดอยู่

สาเหตุของการเกิดโควิดรีบาวน์
กรณีผู้ป่วยในไทยมีการรับยาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์จนครบคอร์สแล้ว แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด หรือเชื้อไวรัสเกิดการดื้อยา เมื่อหยุดกินยาทำให้เชื้อเกิดการแบ่งเซลล์และกลับมาติดเชื้อใหม่ทันที ซึ่งสาเหตุของการเกิดเชื้อดื้อยามาจากหลายปัจจัย ดังนี้

• การซื้อยามากินเอง ขณะนี้ยาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์มีขายออนไลน์มากขึ้น แต่ผู้ป่วยบางรายไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส สามารถรอให้อาการหายเองได้ จึงไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่มีคำสั่งแพทย์

• การขัดกันของยา ผู้ป่วยบางรายมียาที่กินเป็นประจำและอาจจะมีคุณสมบัติลดทอนประสิทธิภาพของยาโมลนูพิราเวียร์ ก่อนได้รับยาจึงควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่กำลังกินอยู่ด้วย

• ภูมิคุ้มกันร่างกาย การที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันน้อยอาจทำให้เชื้อมีโอกาสดื้อยาสูง เพราะภูมิคุ้มกันจากยาไม่เพียงพอ แต่หากผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำอาการไม่ร้ายแรงก็สามารถหายเองได้ในเวลาต่อมา


ยาต้านไวรัสในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะยาโมลนูพิราเวียร์เท่านั้น เพียงแต่ในไทยพบผู้ติดเชื้อรีบาวน์จากยาชนิดนี้ ที่สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน รักษาโควิดด้วยยา แพกซ์โลวิด ก็ยังติดเชื้อรีบาวน์ แสดงว่ายาต้านไวรัสหลายแขนงหากทำงานได้ไม่เต็มที่แล้วมีเชื้อเหลือในร่างกาย อาจจะติดเชื้อซ้ำได้


กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโควิดรีบาวน์
• กลุ่มผู้สูงอายุ จากเคสในไทยเพียง 3 เคส ผู้ติดเชื้อรีบาวน์เป็นผู้สูงอายุทั้งหมด คาดว่าเชื้อเกิดการดื้อยา แต่อาการหลังจากรักษาโควิด 14 วัน แล้วกลับมาติดเชื้อซ้ำยังไม่ร้ายแรง สามารถรักษาตามวิธีปกติได้

• กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีโรคประจำตัวจะมีความเสี่ยงทั้งเรื่องตัวยาที่กินจะไม่เสริมประสิทธิภาพโมลนูพิราเวียร์ และปัญหาด้านภูมิคุ้มกันที่อาจกำจัดเชื้อโควิดได้ไม่ดีเท่าที่ควร

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แนะนำให้ผู้ป่วยรักษาอาการโควิด โดยใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น เพราะการให้ยาต้านไวรัสที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะกับผู้ป่วย อาจทำให้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ และผู้ป่วยทุกรายอาจไม่จำเป็นต้องกินยาก็ได้ จึงต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์


ขอบคุณที่มาโดย : Romrawin D. อาการโควิดรีบาวด์ การติดโควิดซ้ำซ้อนหลังรับยาต้านโมลนูพิราเวียร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก. https://promotions.co.th/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/what-is-covid-rebound-and-how-to-heal.html

ขอบคุณภาพโดย : Virus background vector created by starline - Freepik.com

บทความน่าสนใจ :
โควิดยังไม่จบ! โอมิครอน BA.4-BA.5 แพร่ไวในจังหวะคลายล็อก
โควิด XE และ XJ ไวรัสลูกผสมจากสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน

อ่านบทความเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่