Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

ยีนบำบัดรักษาอาการปวดเรื้อรังโดยการลดโซเดียม





ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นปวดกล้ามเนื้อ ปวดเส้นเอ็น ปวดข้อต่อ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือ อุบัติเหตุ และอีกมากมายที่มีอาการปวดเป็นระยะเวลานานนั้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งสิ้น

MHEYzR.jpeg



นักวิจัยจาก NYU College of Dentistry’s Pain Research Center จึงได้พัฒนายีนบำบัดโดยการควบคุมช่องโซเดียมไอออนทางอ้อมและใส่สารพันธุกรรมเข้าไปในไวรัสเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

ช่องโซเดียมไอออนมีบทบาทสำคัญในการสร้างและกระจายความเจ็บปวด เนื่องจากมีความสำคัญต่อเซลล์ประสาทที่ใช้ในการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘NaV1.7’ ที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ บางคนมีการกลายพันธุ์ของยีนในการเข้า NaV1.7 ทำให้โซเดียมจำนวนมากเข้าสู่เซลล์แล้วเกิดอาการปวดเรื้อรังอย่างรุนแรง ในขณะที่บางคนการกลายพันธุ์ถูกปิดกั้นจาก NaV1.7 ทำให้ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ

นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาในการพัฒนาวิธีรักษาความเจ็บปวดโดยการเลือกที่จะปิดกั้น NaV1.7 อย่างเจาะจง แต่ก็ประสบความสำเร็จเพียงน้อยนิด จึงเริ่มหาวิธีการที่แตกต่างไปโดยการควบคุมทางอ้อมอละใช้โปรตีนที่เรียกว่า ‘CRMP2’ ซึ่งเป็นสารประกอบที่ควบคุมความเจ็บปวดในเซลล์และแบบจำลองสัตว์ อีกทั้งยังมีการศึกษาสำหรับใช้ในมนุษย์ต่อไปด้วย พวกเขาสามารถระบุตำแหน่งภายใน NaV1.7 ที่โปรตีน CRMP2 จะจับกับช่องโซเดียมไอออนเพื่อควบคุมการทำงานได้ พวกเขาได้เรียนรู้ว่าบริเวณนี้มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับ NaV1.7 เนื่องจาก CRMP2 ไม่สามารถจับกับช่องโซเดียมไอออนอื่นได้ นอกจากนี้ยังสร้างเปปไทด์จากช่องที่ตรงกับตำแหน่ง CRMP2 จับกับ NaV1.7 และใส่เปปไทด์เข้าไปในไวรัสเล็ก ๆ ที่ทำให้ติดเชื้อ (Adeno-Associated Virus) เพื่อส่งไปยังเซลล์ประสาทและยับยั้ง NaV1.7 ซึ่งการใช้ไวรัสขนส่งสารพันธุกรรมไปยังเซลล์เป็นวิธีการบำบัดด้วยยีนและนำไปสู่การรักษาที่ประสบความสำเร็จสำหรับความผิดปกติของเลือด โรคตา และอาการที่พบได้ยากอื่น ๆ

จากพัฒนายีนบำบัดโดยการควบคุมช่องโซเดียมไอออนทางอ้อมในครั้งนี้เป็นการช่วยรักษาอาการเจ็บปวด รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการทางระบบประสาทจากเคมีบำบัด และยังช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น


ขอบคุณที่มาโดย : New York University

ขอบคุณภาพโดย : Shayne_ch13 on Freepik