Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

ตรวจคัดกรอง 'มะเร็ง' ด้วย AI รู้ผลเร็ว และแม่นยำ





หลังจากที่เกิดโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก ทำให้ทุกองค์กรตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูประบบสาธารณสุขเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และนำสู่การมาถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งการเกิดขึ้นของโรคอุบัติใหม่ล้วนเป็นปัจจัยท้าทายระบบสาธารณสุขไทย และส่งยังผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


---AI--.jpeg




ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ทางการแพทย์นิยมใช้ หากตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะทำให้เข้ารับการรักษากับแพทย์ได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดน้อยลงได้

DEPA และ AstraZeneca Thailand ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 'Accelerate the Development and Delivery of Digital Healthcare in Thailand' เพื่อส่งเสริมการนำนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพมาใช้ยกระดับระบบสาธารณสุขในประเทศไทย และต่อยอดการใช้ AI ตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้น ขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการในพื้นที่ห่างไกล และลดต้นทุนบริการตรวจสุขภาพ

ก่อนหน้านี้มีโครงการนำร่อง 'ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด' ที่ทำร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว โดยการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นในผู้ป่วยกว่า 10,000 รายในห้างสรรพสินค้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทราบผลภายใน 3 นาที ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาล และหากพบความผิดปกติในเบื้องต้นสามารถเข้าสู่การรักษาได้เลย

จากความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการสานต่อความร่วมมือในโครงการ 'Don’t Wait. Get Checked. 2.0' ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี AI ในเครือข่ายโรงพยาบาลรัฐทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึงการขยายขอบเขตการทำงานไปสู่หน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหรือภูมิภาค เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยี AI ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่น อาทิ มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งรังไข่ เป็นต้น

การใช้ AI มาช่วยตรวจ มะเร็งปอด จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เห็นเซลล์มะเร็งได้แม่นยำขึ้น ลดความผิดพลาดไปได้ 5-11 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ AI อ่านภาพ CT SCAN จำนวนมหาศาลเพื่อให้เรียนรู้ส่วนประกอบที่แตกต่างกันระหว่างปอดที่มีเนื้อร้ายแปลกปลอมกับปอดที่สุขภาพปกติ เป็นการลดภาระการทำงานของแพทย์ ช่วยเรื่องการรักษา เมื่อเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาได้เร็วขึ้นก็จะทำให้ผลของการรักษาออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ AI สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้เร็วขึ้นเพราะมีมุมมองการตรวจจับได้ในระยะไกล เป็นวงกว้าง แม่นยำ และสามารถประเมินและวิเคราะห์เบื้องต้นได้ว่าติ่งเนื้อที่พบเป็นติ่งเนื้อชนิดที่ผิดปกติ หรือชนิดที่อาจจะเป็นมะเร็งได้ในอนาคตหรือไม่

ในส่วนของ มะเร็งเต้านม ใช้ AI วินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้จากการคัดกรองเป็นประจำด้วยเมมโมแกรม สามารถอ่านผลเมมโมแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจ มะเร็งปากมดลูก ใช้เวลาวินิจฉัยได้รวดเร็วแม่นยำใน 1 วินาทีเท่านั้น โดยใช้กล้องคุณภาพสูง 2 ตัว เก็บภาพปากมดลูกอย่างละเอียดและแสดงผลออกมาเป็นภาพ 3 มิติ และจำแนกภาพเพื่อตรวจหาความผิดปกติ จึงลดต้นทุน ลดเวลา และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้

นอกจากนี้ยังบูรณาการการทำงานกับสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในการพัฒนา 'Asthma Excellence' แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคหืด ซึ่งที่ผ่านมามีบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศกว่า 3,000 รายนำแอปพลิเคชันดังกล่าวมาใช้อำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

การนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับระบบการทำงานเป็นการลดทอนเวลา และขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงค่าใช้จ่าย เพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนระบบสุขภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย



ขอบคุณที่มาโดย : ประชาชาติธุรกิจ , กระทรวงสาธารณสุข , Sanook.com

ขอบคุณภาพโดย : Artificial intelligence landing page template By Freepik , Flat cancer infographic template

บทความน่าสนใจ : AI ของกูเกิล ตรวจจับมะเร็งเต้านมจากแมมโมแกรม

อ่านบทความเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่