Biotech Thailand is a biomedical & biotechnology directory providing a list of organisations, products & services in the biotech industry.

ADVERTORIALS

    

ทำไมฮ่องกงจึงเป็นผู้นำอุตสาหกรรม Healthcare | รีวิวงาน Asia Summit on Global Health







รู้หรือไม่ว่า ประชากรที่มีอายุขัยเฉลี่ยคาดการณ์ (Life Expectancy) สูงที่สุดในโลกก็คือชาวฮ่องกง ซึ่งเป็นผลจากการจัดการด้านสาธารณสุขที่ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ แต่แน่นอนว่าฮ่องกงก็กำลังเผชิญกับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุเช่นเกียวกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีคาดว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มจาก 20% ในปี 2021 เป็น 32% ในปี 2041

Asia-Summit-1.jpeg



อุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพในฮ่องกงแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
1. กลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านการแพทย์
2. กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยที่ฮ่องกงนั้นเป็นแหล่งการเงินที่เป็นเป้าหมายการออก IPO อันดับหนึ่งในเอเชีย-แปซิฟิกสำหรับบริษัทด้านไบโอเทค และเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา

เห็นได้จากมูลค่าการส่งออกเครื่องมือทางการแพทย์และสุขภาพที่มีมูลค่าราว 8 หมื่นล้านบาทในปี 2021 นั้น มีสัดส่วนที่มาจากการ Re-Export ถึง 99.9%

เมื่อผนวกกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่เรียกว่า Greater Bay Area ที่รวมมณฑลกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า จึงทำให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางวิทยาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ ในงาน Asia Summit on Global Health จึงได้รับความสนใจเข้าร่วมจากทั้งนักวิจัย แพทย์ นักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย ธุรกิจโรงพยาบาลและสุขภาพ รวมถึง HealthTech Startup จำนวนมากเข้าร่วมสัมมนาและเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีรวมถึงเจรจาธุรกิจ


พลิกโฉมอนาคตวงการสุขภาพ

งาน Asia Summit on Global Health (ASGH) 2023 ที่ผ่านมา จัดขึ้นภายใต้ธีม Reimagining the Future of Healthcare หรือ พลิกโฉมอนาคตวงการสุขภาพ โดยเป็นพรีเมียร์อีเวนต์ที่โฟกัสด้านนวัตกรรมสุขภาพและการลงทุนโดยเฉพาะ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา โดยมีประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบขึ้นมาบรรยายและเสวนาแลกเปลี่ยน อาทิ

  • เทรนด์การพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพทั่วโลก
  • นโยบายในการรับมือในภาวะโรคระบาดร้ายแรง และโรคประจำถิ่น
  • ฉากทรรศน์ใหม่ในการลงทุนด้านสุขภาพของประเทศจีน
  • อิทธิพลของ GBA - Greater Bay Area ที่รวมพลังของกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า เพื่อส่งเสริมงานวิจัยด้านไบโอเทคไปจนถึงการผลักดันความสำเร็จเชิงพาณิชย์
  • สปอตไลท์ธุรกิจสุขภาพรูปแบบใหม่ในเอเชีย
  • จุดแข็งและบทบาทของฮ่องกงในการเป็นฮับระดมทุนระดับโลกสำหรับธุรกิจ Healthtech
  • ผลกระทบระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาสุขภาพ
  • วิสัยทัศน์ของผู้นำสตรีในวงการสาธารณสุข
  • ธุรกิจ Delivery ในงานด้านสาธารณสุข
  • การลงทุนในเทคโนโลยีโลกอนาคตเพื่อการยืดอายุขัย

    นอกจากนี้ยังมีการอัปเดตเทคโนโลยีแบบบูรณาการครบทุกมิติ ได้แก่ จีโนม ไบโอเทค เมดเทค ดิจิทัล สุขภาพจิต ระบบฐานข้อมูลสาธารณสุข การคิดค้นยาใหม่ การผสมผสานยาจีนและยาจากโลกตะวันตก สิทธิความเท่าเทียมด้านสุขภาพ ฯลฯ เรียกได้ว่ามาครั้งเดียวได้ข้อมูล ได้การบ้าน ได้โปรเจกต์กลับไปทำงานต่ออย่างแน่นอน


    Asia-Summit-2.jpeg



    ภายในงาน ASGH แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การเสวนาและบรรยายดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้า ซึ่งมีบุคลากร ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หลากหลายสาขาจาก 40 ประเทศทั่วโลก รวมกว่า 2,500 คนเข้าร่วม มีตั้งแต่นักลงทุนสถาบัน VC IB สถาบันการเงิน ประกัน กองทุน ผู้บริหารจากธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านการแพทย์ โรงพยาบาล ยา ไบโอเทค นวัตกรและสตาร์ทอัพด้านปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาตา ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ หุ่นยนต์ การแพทย์ทางไกล นักวิจัย สถาบันวิจัย ศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยี ไปจนถึงสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการมากมาย


    Asia-Summit-3.jpeg



    ส่วนที่ 2 เป็นเวทีสำหรับ InnoHealth Showcase และ Deal-Making มีการจัดแสดงและนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากทั่วโลกกว่า 200 โครงการ เพื่อจับคู่เจรจาธุรกิจกับแหล่งเงินทุนหรือพันธมิตรทางธุรกิจ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนคึกคักตลอดทั้ง 2 วัน โดยเกิดการเจรจามากกว่า 300 คู่กับนักลงทุนกว่า 150 ราย ซึ่งภายในงานก็มี Healthcare Advisory ที่ให้คำปรึกษาด้าน IP / Patents / Licensing / Market Research และการระมทุนอีกด้วย ถือว่าครบวงจรที่สุดเท่าที่ควรจะมี เพื่อส่งเสริมให้การเจรจาธุรกิจเกิดความก้าวหน้าอย่างสะดวกรวดเร็วที่สุดนั่นเอง


    Exclusive Interview คุณหมอปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ 1 ใน Panelists จากไทยในเวทีระดับโลก

    Asia-Summit-4.jpeg



    เวที ASGH 2023 เป็นแหล่งรวมบุคลากรระดับแนวหน้าของโลกด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยในช่วงเปิดงานได้รับเกียรติจาก Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรระดับนานาชาติที่ทรงอิทธิพลที่สุด


    Asia-Summit-5.jpeg



    เป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่ BiotechThailand.com ได้ร่วมเป็น Media Partner ในอีเวนต์นี้และได้สัมภาษณ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับ พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ประธานกรรมการบริหาร BDMS หรือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ ซึ่งคุณหมอได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ New Business Spotlights of Healthcare in Asia โดยในการพูดคุยครั้งนี้ก็มีการถาม-ตอบประเด็นที่คิดต่อจากช่วงเสวนาของคุณหมอ สรุปได้ดังนี้


    ความตื่นตัวหรือกระแสสุขภาพหลังโควิดมีเพิ่มมากขึ้นไหม

    "ความรู้สึกในการมาร่วมงาน ASGH และมาฮ่องกงครั้งแรกหลังวิกฤติโควิด รู้สึกว่าคนมาเยอะและคึกคักกว่าที่คิด ส่วนความตื่นตัวด้าน MedTech หรือ HealthTech ที่จริงไม่ได้สูงกว่าช่วงก่อนโควิดมากนัก แต่ตื่นตัวในมุมมองที่เปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนเราอาจโฟกัสวงแคบในพื้นที่ที่เราจัดการดูแลด้านการรักษาพยาบาล พอเกิดวิกฤติเราก็มีมุมมองเปลี่ยนไป ยกตัวอย่าง สมัยก่อนป่วยแล้วถึงรักษา แต่ช่วงโควิดเราจะได้ยินเสมอว่าคนที่ร่างกายแข็งแรงจะไม่ค่อยป่วย อาการไม่หนัก ไม่เสียชีวิต ซึ่งเป็นความจริงที่ถูกพูดซ้ำ ๆ ในช่วงโควิด เลยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทรนด์ของการดูแลรักษา"


    ความเป็น ‘ภูมิภาค’ สำคัญกับการแพทย์อย่างไร

    "อยากให้มองว่าภูมิภาคเอเชียมีความแตกต่างซึ่งเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ซึ่งแม้ทวีปจะมีขนาดใหญ่แต่ถ้ามองลึกลงไปในด้าน Genetic คนในทวีปเอเชียมีความคล้ายกัน เพราะเราเคลื่อนถิ่นฐานไปมาระหว่างกัน อย่างคนไทยส่วนใหญ่ก็มียีนแบบคนจีน"

    "ในอดีต ส่วนใหญ่เรารับการพัฒนาใหม่ ๆ รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากยุโรป ถ้าเทียบยุโรปกับเรา ต่างกันเยอะ แทบไม่เหมือนกันเลย แต่ถ้าในเอเชียด้วยกัน มุมมองส่วนตัวคิดว่าเราเหมือนกันเยอะทั้งด้านกายภาพ Genetic หรือวิถีการใช้ชีวิต แม้ว่าในรายละเอียดจะยังมีความแตกต่างหลากหลายอีกเยอะก็ตาม"



    Asia-Summit-6.jpeg



    "ทั้งความคล้ายและความต่างดังกล่าว ทำให้เอเชียก็มีข้อดีในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ถ้าเราผลิตยาหรืออุปกรณ์โดยอิงจากประชากรในภูมิภาคก็อาจได้ผลลัพธ์ที่ดีกับพวกเรามากขึ้น"


    แต่ละประเทศล้วนอยากเป็นศูนย์กลางสุขภาพ

    "เรื่อง Medical Tourism เราสูสีกับสิงคโปร์มาโดยตลอด ซึ่งประเทศไทยมีจุดเด่นด้าน Hospitality ด้านบริการ แถมยังได้เที่ยวเมืองไทยที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ส่วนพื้นที่ใหม่ที่น่าสนใจ คือ 'ฮ่องกง' ที่พยายามพัฒนาตัวเองเป็นฮับด้าน Healthcare ซึ่งมีงานวิจัยพัฒนา มีการส่งเสริมสตาร์ทอัพ มีเงินลงทุน มีสถานที่ มีการจัดพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นแรงจูงใจดึงดูดคนเข้ามา"


    Asia-Summit-7.jpeg



    "แต่ถ้ามองในด้านธุรกิจ ประเทศที่น่าลงทุนก็คือที่ที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรเยอะอย่างไรก็น่าสนใจ ซึ่งก็ได้แก่ จีน และอินโดนีเซีย"


    Self-Screening และ Tele-Medicine กระทบธุรกิจโรงพยาบาลหรือไม่

    "ที่จริงเราอยากทำ Tele-Medicine ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนโควิดอยู่แล้ว เพราะมองว่าเป็น Access ใหม่ที่เข้าถึงกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกเข้ามารับบริการรักษาพยาบาล เป็นทางเลือกที่ดี แม้มีข้อจำกัดในการสื่อสารทางไกลแต่ก็มีประโยชน์เยอะกว่า ซึ่งพอเข้าช่วงโควิดก็มีความจำเป็นมากขึ้น มีการใช้งานเพิ่มขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยประเด็นด้านกฎระเบียบภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการดูแลรักษา มีความกังวลว่าการรักษาทางไกลจะไม่ดีเท่ากับการรักษาแบบปกติ แต่ท้ายสุดก็เห็นความสำคัญและให้ดำเนินการได้อย่างถูกกฎหมาย"


    คิดอย่างไรกับสตาร์ทอัพใน ASGH


    Asia-Summit-8.jpeg



    "ได้เจอสตาร์ทอัพแปลก ๆ ใหม่ ๆ มีการผสมผสานเทคโนโลยีจากทั้งยุโรปและเอเชีย โดยก่อนหน้านี้เราเองก็มีโอกาสเชิญสตาร์ทอัพมาพูดคุยแล้วพอสมควรทั้งจากในไทยและจากต่างประเทศ รู้สึกดีใจที่เห็นว่ามีคนสนใจ HealthTech และ MedTech เยอะ ซึ่งก็เห็นว่าบางรายมีแนวคิดที่คล้าย ๆ กันแต่ก็มีการปรับเปลี่ยนต่างกันไป สิ่งนี้จะทำให้เกิดการพัฒนา"


    เทรนด์การเปลี่ยนแปลงจาก Curative ไปสู่ Preventive และ Wellness คืออะไร?

    "จากบนเวทีที่เสวนาร่วมกับผู้บริหารจากธุรกิจยา ธุรกิจ Wellness ธุรกิจ AI มีการพูดถึงแนวคิดการปรับตัว ซึ่ง Curative เป็นแบบปกติเลย ตรงไปตรงมา ป่วยแล้วไปหาหมอรักษา ผ่าตัดหรือให้ยาจนกว่าจะหาย แต่สิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์ คือ การฟื้นฟู เช่น อาจผ่าตัดขาจนหายแต่อาจไม่สามารถเดินใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม"


    Asia-Summit-9.jpeg



    "หรืออย่างก่อนหน้านี้เราตรวจสุขภาพปีละครั้ง ถ้าผลออกมาปกติก็สบายใจแล้วค่อยกลับมาเจอกันอีกทีปีหน้า ซึ่งสุขภาพเรามันไม่ใช่แค่ชั่วขณะใดขนะหนึ่ง ถ้าเราตรวจแล้วไม่ได้ทำอะไร ร่างกายคนเราก็ย่อมมีแต่เสื่อมโทรมตามธรรมชาติ จึงต้องมีการ Maintain สุขภาพให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะการกิน การนอน การรับวิตามินเสริม การออกกำลังกายที่ถูกต้อง สิ่งนี้จึงจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วย หรือป่วยช้า นี่คือการเข้าสู่ Preventive นั่นเอง"


    Asia-Summit-10.jpeg



    "ส่วน Wellness นั้นที่จริงไม่มีความหมายเดียวที่ชัดจริง ๆ ในกูเกิ้ลก็มีคำแปลที่หลากหลาย แต่ตามมุมมองของ BDMS นั้น Wellness คือ การมีสุขภาพดี อายุยืนยาว เราสามารถทำกิจกรรมได้ถึง Full Potential ที่เราจะเป็น ซึ่ง Wellness ในบางธุรกิจก็อาจรวมถึงสปา สมาธิ อาหารคลีน ผสานกันไป ส่วน BDMS เรามองตัวเองเป็น Medical Wellness ที่ผสมรวมกับการดูแลด้าน Mental, Food และกิจกรรมการใช้ชีวิต ซึ่ง Wellness ในฝั่ง Medical นั้นต้องเป็นวิทยาศาสตร์"

    "อย่างตอนเสวนา มีการพูดถึงว่า เราจะแค่ Lifespan ไม่ได้แล้ว แต่ต้องพูดไปถึง Healthspan เพราะอายุที่ยืนยาวก็ต้องพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี นี่คือ Wellness"



    ถ้าคนสุขภาพดีขึ้น มองว่าอุตสาหกรรมยาจะเป็นอย่างไร?

    "ท้ายที่สุด อย่างไรเราทุกคนก็ยังต้องเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นธุรกิจยาก็ยังคงต้องอยู่กับเราไป แต่เทคโนโลยีในการผลิตยาต้องเปลี่ยนไป อาจสามารถทำยาให้ราคาถูกลงได้ หรือทำยาให้เฉพาะเจาะจงสำหรับโรคหรือสำหรับคนแต่ละคน"


    BDMS มีกลยุทธ์ระยาวอย่างไรสำหรับธุรกิจโรงพยาบาล


    Asia-Summit-11.jpeg



    "สิ่งที่เราทำมานานแล้วและยังทำต่อไป คือ Center of Excellence หมายถึง การรักษาพยาบาลต้องดี บริการดี บุคลากรเก่ง เครื่องมือทันสมัย แต่ส่วนที่ทำเยอะขึ้น คือ Medical Wellness เพราะเราจะไม่รออนาคต ใครที่สนใจดูแลสุขภาพ เราก็มี ‘วิถี’ ที่ช่วยให้คนดูแลสุขภาพได้ต่อเนื่อง ในระยะยาวค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะลดลง และที่จริงวิถี Wellness นั้น กิจกรรมส่วนใหญ่สามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล"

    “เพราะสุขภาพ ไม่มีใครมอบให้ใคร”
    คุณหมอกล่าวทิ้งท้าย


    การรักษาโรคและการรักษาสุขภาพจะเปลี่ยนไป

    ในงาน ASGH มีการจัดแสดงโซลูชันที่น่าสนใจมากมาย มีการบูรณาการเทคโนโลยีหลายด้านที่จะเข้ามาพัฒนาหรือ Disrupt การรักษาโรคและรักษาสุขภาพในอนาคต ซึ่ง AI เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการทำให้อนาคตเป็นจริงได้เร็วขึ้น เช่น ในการวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคกำลังนั้น AI ถูกนำมาใช้กับการอ่านผลการสแกนเพื่อคาดการณ์โอกาสเกิดความผิดปกติ หรือการออกแบบและทำนายโปรตีน เอนไซน์ กรดอะมิโน ในการทำปฏิกิริยาต่าง ๆ


    Asia-Summit-12.jpeg



    ผลลัพธ์อีกข้อที่เป็นความฝันของมนุษยชาติ คือ Precision Medicine ที่มีผลหรือออกฤทธิ์กับบางบุคคลหรือบางกลุ่มคนโดยเฉพาะ โดยเราได้พูดคุยกับ G-NiiB GenieBiome Limited ซึ่งเป็นผู้ผลิต Microbiome Immunity Product ที่ต่อยอดจากผลงานวิจัยของ Chinese University of Hong Kong

    ดังที่เราเริ่มเรียนรู้กันว่าร่างกายมนุษย์นั้นอาศัยชุมชนจุลชีพในการดำรงชีวิต ทีมวิจัยที่นำโดย Dr.Francis Chan และ Dr.Siew-Chien Ng มุ่งศึกษา Gut Microbial หรือจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งครอบคลุมทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัสต่าง ๆ เพื่อหาความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์เหล่านั้นต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหรือการเสริมสุขภาพต่าง ๆ

    ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด ประชากรต้องกักตัวเพื่อความปลอดภัย แต่สำหรับเด็กในวัยเจริญเติบโตนั้นผลอีกด้าน คือ การขาดโอกาสสร้างภูมิคุ้มกัน นั่นเป็นหนึ่งในโจทย์ของงานวิจัยที่ต้องการอุดช่องโหว่นี้ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ของ Microbiome

    ผลสำเร็จที่ผ่าน Clinical Trial แล้วว่าสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้จริง ผลิตออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สูตรที่ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโคโรนาไวรัส และช่วยเพิ่มคุณภาพการนอน ลดผื่นแพ้ผิวหนัง ซึ่งส่งผลให้จิตใจและอารมณ์ดีอีกด้วย

    งานวิจัยนี้ ยังสามารถนำมาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียที่ดีหรือแบคทีเรียตัวร้ายที่ส่งผลต่อมะเร็งลำไส้ ช่วยให้เรามีโอกาสได้เห็นการป้องกันหรือรักษามะเร็งลำไส้ได้ด้วยการปรับสมดุลร่างกายตามธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการที่แม่นยำยิ่งขึ้น


    แหล่ง Sourcing สินค้าด้านสุขภาพ


    Asia-Summit-13.jpeg



    งาน ASGH จัดภายใต้ International Healthcare Week โดยอีกฮอลล์ก็มีงาน HKTDC Hong Kong International Medical and Healthcare Fair ซึ่งเป็น Sourcing สินค้าด้านสุขภาพมากมายหลายร้อยราย โดยมีเทรนด์ที่น่าสนใจ ได้แก่

  • Rehabilitation การฟื้นฟูร่างกาย กายภาพบำบัด ซึ่งรองรับทั้งผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีอุปกรณ์มากมายหลายวัตถุประสงค์ เช่น รถเข็นไฟฟ้าที่ Swap แบตเตอรี่ได้รวดเร็ว นำขึ้นเครื่องบินได้ พับเก็บได้ในไม่กี่วินาที / เครื่องออกกำลังกายที่รองรับการเคลื่อนไหวได้หลายมิติอย่างปลอดภัย มาพร้อมซอฟต์แวร์ที่ช่วยจับการเคลื่อนไหวและไกด์ท่าทางให้ตรงกับการรักษา / รวมถึงการใช้หุ่นยนต์เพื่อลดภาระบุคลากรการแพทย์ หรือ Exoskeleton

  • Self-Screening และ Diagnosis เพื่อให้คนทั่วไปหรือคนที่ห่างไกลโรงพยาบาลสามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคร้ายต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น บ่อยขึ้น โดยชุดตรวจเหล่านี้มีขนาดเล็ก ใช้ง่าย เก็บสารคัดหลั่งด้วยตัวเองได้ (ใกล้เคียงกับชุดตรวจโควิด-19) โดยมีการพัฒนาเครื่องตรวจผลที่ขนาดเล็ก (พอ ๆ กับเตาอบ) ที่ตรวจได้หลากหลาย อาจติดตั้งไว้ที่ศูนย์อนามัย หรือใช้เป็น Mobile Lab ก็ได้ แล้วก็ผลักดันให้มีบริการ Delivery จัดเก็บตัวอย่างเพื่อส่งห้องแล็บได้อีกด้วย

  • Tele-Medicine ออกแบบมาเป็นอุปกรณ์ตรวจสุขภาพที่ติดตั้งระบบสื่อสารเพื่อการปรึกษาแพทย์ การเก็บข้อมูลจาก Werable Device กรดการแพทย์ ช่วยให้แพทย์สามารถอ่านผลและให้คำปรึกษาได้แม่นยำยิ่งขึ้น เทรนด์นี้ยังผลักดันให้เกิดการแชร์ฐานข้อมูลผู้ป่วยอีกด้วย

  • เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้อุปกรณ์วินิจฉัยหลายตัวมีขนาดเล็กลง พกพาง่าย รับส่งข้อมูลเร็ว และสามารถทำงานร่วมกับ Devices อย่างสมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ เช่น อุปกรณ์ Ultrasound ที่ใช้ตรวจภาวะกระดูกสันหลังคด มีการออกแบบให้เป็น Portable Ultrasound Scoliosis Assessment System สามารถใช้ได้แม้ในโรงเรียนหรือชุมชนต่าง ๆ

  • วัสดุใหม่ ๆ เช่น ผ้าม่านกันเชื้อ หน้ากากอนามัย ที่มีการออกแบบให้รองรับวัตถุประสงค์การใช้งาน

  • เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เช่น การฝัง RFID ลงในชุดยูนิฟอร์มในโรงพยาบาล เพื่อตรวจสอบสถานะแบบ Realtime ว่าชุดยูนิฟอร์มตอนนี้อยู่ที่สถานีใดบ้าง มีการหมุนเวียนอย่างไร สามารถคำนวณเพื่อบริหารทรัพยากรลดค่าใช้จ่ายได้มหาศาลในโรงพยาบาล แต่กลับเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยหรือบุคลากรการแพทย์ได้ นอกจากนี้ ยังทำงานร่วมกับระบบ AS/RS ที่จัดยูนิฟอร์มต่างสีต่างขนาดส่งได้ตรงกับความต้องการใช้จริงได้โดยแทบไม่ต้องผ่านการสัมผัสของเจ้าหน้าที่

  • เทคโนโลยีด้าน Safety & Security เช่น เซนเซอร์ตรวจวัดห้องผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ช่วยมอนิเตอร์การขยับตัวบนที่นอน หรือเฝ้าระวังการล้ม / หุ่นยนต์เซอร์วิสที่ช่วยตรวจสภาพภายในห้อง ทำการฉีดละอองสารฆ่าเชื้อหรือปรับสภาพอากาศโดยอัตโนมัติ / อุปกรณ์กู้ชีพที่ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เป็นต้น

  • สารสกัดจากธรรมชาติและสมุนไพร


    พบกันใหม่ปี 2024
    งาน ASGH ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2024 ณ Hong Kong Convention & Exhibition Centre (HKCEC) อยู่ในย่าน Wan Chai โดยจะมาในธีม Innovation, Inclusion, Impact โดยมีค่าบัตรเข้าชมงาน 835 USD หรือประมาณ 3 หมื่นบาท

    แต่สำหรับผู้บริหาร นักวิจัย นักลงทุน หรือนักธุรกิจชาวไทยที่สนใจ ตอนนี้ทาง HKTDC ได้จัดโควต้า Complementary Ticket ให้ฟรี โดยใช้โค้ด 03CBBKK ในการลงทะเบียนทางลิงก์ www.asiasummitglobalhealth.com/conference/asgh/en/participant-registration


    Asia-Summit-14.png




    ตั๋วฟรีนี้มีจำนวนจำกัด ให้สิทธิ์แบบ First Come First Serve แต่ถึงอย่างไรคนที่สนใจหรืออยู่ในวงการ Medical, Health, Biotech ก็ไม่ควรพลาด ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.asiasummitglobalhealth.com หรือขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงาน HKTDC ประจำกรุงเทพฯ โทร. 02-3439000

    ส่วนงาน Sourcing และแสดงสินค้า Hong Kong International Medical & Healthcare Fair จัดช่วงเวลาเดียวกัน ณ สถานที่เดียวกัน ระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2024 สามารถศึกษาสินค้าและเทคโนโลยีที่สนใจได้ทาง www.hktdc.com/event/hkmedicalfair/en โดยได้รับความร่วมมือจาก Hong Kong Medical and Healthcare Device Industries Association (HKMHDIA)


    เกี่ยวกับ Asia Summit on Global Health (ASGH)
    จัดโดย The Government of The Hong Kong Special Administrative Region และ Hong Kong Trade Development Council (HKTDC)